วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้วันที่ 16/02/54

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มที่ได้ไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนาน และหลังจากนั้นแต่ละกลุ่มก็ทยอยออกมานำเสนอ จากการนำเสนอของเพื่อนๆ ทำให้ข้าพเจ้าทราบถึงประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนหลายโรงเรียน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือได้ทราบว่าแต่ละโรงเรียนมีการใช้หลักสูตรใด และมีการพัฒนาหลักสูตรอย่างไรบ้าง ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะมีหลักสูตรที่คล้ายกัน อาจแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น โรงเรียนที่สอนศาสนา รายวิชาเพิ่มเติมจะเป็นเรื่องของศาสนา นอกจากนี้แล้วท้ายคาบยังให้ความรู่เกี่ยวกระบวนการพัฒนาหลักสูตร บอกแนวข้อสอบ ตลอดจนชี้แจงเรื่องงานที่ต้องส่งใน blogger

บันทึกการเรียนรู้วันที่ 09/02/54

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาลงพื้นที่ เพื่อไปศึกษาหลักสูตรของสถานศึกษา ซึ่งโรงเรียนที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ตัดสินใจศึกษาหลงักสูตรของโรงเรียนสงขลาวิทยาคม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้ไปสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งประเด็นที่สัมภาษณ์มีดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาและข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน
2. ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายของโรงเรียน
3. บริบท/ลักษณะของชุมชนหรือท้องถิ่นเป็นอย่างไร และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรอย่างไร
4. การพัฒนาหลักสูตรจากหลักสูตรแกนกลาง สู่หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนของท่านมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอย่างไร
5. ในแต่ละชั้นปีมัรายวิชาเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างไรบ้าง
6. นอกจากคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 8 ด้าน และสมรรถนะสำคัญทั้ง 5 ด้าน หลักสูตรสถานศึกษาได้เพิ่มคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญเพิ่มเติมหรือไม่
7. โรงเรียนจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ อะไรบ้างที่เป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน
8. โรงเรียนมีนโยบายอย่างไรในการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
9. หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนท่านมีกระบวนการประเมินผลหลักสูตรอย่างไร
10. ข้อคิดสำหรับนักศึกษาครูเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
การไปศึกษาหลักสูตรในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้ประสบการณ์จากการไปศึกษาหลักสูตรยังสถานที่จริง และทางโรงเรียนสามบ่อวิทยามีความเป็นกันเองและให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

บันทึกการเรียนรู้วันที่ 26/01/54

วันนี้อาจารย์วิภาพรรณ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการลงพื้นที่ เพื่อที่จะได้นำไปใช้เป็นประเด็นคำถามในการศึกษาหลักสูตรของโรงเรียนสงขลาวิทยาคม แต่อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดแต่ละหัวข้อจึงทำให้เกิดความสับสนในบางครั้ง หนูต้องการอยากให้อาจารย์อธิบายให้เข้าใจมากกว่านี้ค่ะ

บันทึกการเรียนรู้วันที่ 19/01/54

สำหรับวันนี้อาจารย์หญิงได้สอนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ในเรื่องของความหมายหลักสูตรและหลักการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการนำไปใช้ในการประเมินผลของหลักสูตร อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละคนแบ่งกลุ่มตามเลขที่นับและทำการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของนักศึกษาทั้งหมด 5 รูปแบบได้แก่
1.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
2.รูปแบบการพัมนาหลักสูตรของทาบา
3.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์และอเล็กซานเดอร์
4.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของกู๊ดแล๊ดและริชเทอร์
5.รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของฟ็อกซ์
และให้อธิบายของแต่ละรูปแบบที่ได้มอบหมายให้ศึกษามาอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟังด้วย.

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้วันที่ 5/01/54

   วันนี้อาจารย์ ณรงค์ได้มาอธิบายเนื้หาเพิ่มเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และฏ้บอกแนวข้อสอบ โดยเนื้อหาที่อาจารย์อธิบาย พอสรุปเป็นสังเขป ดังนี้

หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ทุกอย่างของผู้เรียน ,เอกสารหลักสูตร ,วิชาที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ความสำคัญของหลักสูตร
1. เป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองให้มีคุณภาพ
2. เป็นมาตรฐานของการจัดการศึกษา
3. เป็นโครงการและแนวทางในการให้การศึกษา
4. ในระดับโรงเรียนหลักสูตรจะเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ครู
5. เป็นแนวทางในการส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็กตามจุดมุ่งหมาย
6. หลักสูตรย่อมทำนายลักษณะของสังคมในอนาคตว่าเป็นอย่างไร
องค์ประกอบของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (Curriculum Aims)
2. เนื้อหา (Content)
3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum Implementation)
4. การประเมินผลหลักสูตร (Evalution)
ประเภท/รูปแบบของหลักสูตร
1. รูปแบบเนื้อหาสาระวิชา (Subject-Based)
2. รูปแบบของ "Broad Field"
3. รูปแบบของหลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางสังคมและภารกิจของชีวิตเป็นแกนหลัก (Social Processer and Life Functions)
4. รูปแบบหลักสูตรที่ยึดประสบการณ์เป็นแกน (Experience Curriculum)
5. รูปแบบของหลักสูตรแกนร่วม (Core Curriculum)
1. รูปแบบเนื้อหาสาระวิชา (Subject-Based)
- เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุด และยังคงเป็นแกนหลักของระบบโรงเรียนทั่วโลก
- การจัดการเรียนการสอนตามสาขา ทำให้ง่ายต่อการสอน
- แต่ละสาขาวิชาได้วางลำดับก่อนหลังของหลักการหรือความคิดไว้แล้ว
- การใช้สาขาวิชาเป็นแกนหลักของการเรียนการสอนช่วยฝึกสมอง (ความคิด) ของผู้เรียนให้มีตรรกะ
- ทำให้ผู้เรียนมีแนวคิดตามแก่นแท้ของวิชาการและเชื่อว่าความรู้เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาในอนาคต
2. รูปแบบของ "Broad Field"
- คือ การรวมสาขาที่ใกล้เคียงกันให้เป็นหมวดหมู่เดียวกัน
- มีข้อวิพากษ์ว่า หลักสูตรตามสาขาทำให้นักเรียนมองไม่เห็นภาพรวมของความเป็นจริง แต่ปัญญาของสังคมมีลักษณะข้ามมิติสาขาวิชา
3. รูปแบบของหลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางสังคมและภารกิจของชีวิตเป็นแกนหลัก (Social Processer and Life Functions)
- Herbert Spencer มองโลกว่าประกอบด้วยกิจกรรม 5 ด้าน ได้แก่
1. ภารกิจเพื่อความอยู่รอด
2. อาชีพ
3. การเลี้ยงบุตรธิดา
4. รักษาความสัมพันธ์ที่เหมาะสมทางสังคมและการเมือง
5. การใช้เวลาว่างเพื่อสุขภาพ
- การจัดหลักสูตรโดยยึดภารกิจของชีวิตที่น่าจะทำให้การเรียนการสอนมีความหมายต่อผู้เรียน ทำให้การเรียนสัมผัสกับปัญหาจริง
- หลักสูตรของมลรัฐเวอร์จิเนีย
1. การปกป้องชีวิตและรักษาสุขภาพ
2. การหาเลี้ยงชีพ
3. การสร้างครอบครัว
4. หารแสวงหาการศึกษา
5. การร่วมมือทางสังคม
6. การพักผ่อนหย่อนใจ
7. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
4. รูปแบบหลักสูตรที่ยึดประสบการณ์เป็นแกน (Experience Curriculum)
- ตามแนวคิด John Dewey การเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดจากประสบการณ์และการเรียนจากการแก้ไขปัญหาชีวิต
- ยึดความสนใจของผู้เรียนเป็นหัวข้อของการเรียนการสอน
- คล้ายกับรูปแบบหลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางสังคมและภารกิจของชีวิตเป็นแกนหลัก แต่เป็นแนวทางปลายเปิดคือไม่มีกรอบแน่นอน
- ค.ศ.1930 มลรัฐแคลิฟอร์เนีย
1. ชีวิตในบ้าน
2. โลกธรรมชาติ
3. ชุมชนรอบตัวเด็ก
4. อาหาร การผลิต และการจำหน่าย
5. การคมนาคมขนส่ง
6. ชีวิตในชุมชนสมัยก่อน
7. ชีวิตชุมชนของประเทศอื่น
8. ประสบการณ์ของชีวิตในสังคม
- รูปแบบหลักสูตรแบบประสบการณ์ หากนำไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรเนื้อหาวิชา
5. รูปแบบของหลักสูตรแกนร่วม (Core Curriculum)
- ทาบา มีความคิดเห็นว่า รูปแบบหลักสูตรแบบแกนร่วมเกิดขึ้นเพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการและความคิดเห็นอันหลากหลายของชีวิต 4 รูปแบบ ที่ผ่านมา
- วัตถุประสงค์ก็เพื่อบูรณาการหลากหลายสาขาวิชา เพื่อตอบสนองความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
- เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ
ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร
- สังคมและวัฒนธรรม
- การเมืองการปกครอง
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
- ข้อมูลของการศึกษาหลักสูตรเดิม
ปรัชญา
- กลุ่มสารัตถนิยม เน้น"สาระ" ที่สำคัญของความรู้
- กลุ่มนิรันตรวาท หรือ ถาวรนิยม มุ่งที่จะสอนความรู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น "สัจนิรันดร์กาล" มุ่งที่ฝึกวินัยทางความคิดเน้นเรียนวิชาที่ยาก เช่น ภาษาละติน กรีก คณิตศาสตร์ เหมาะกับผู้เรียนที่เป็น "หัวกะทิ"
- กลุ่มก้าวหน้านิยม ไม่ได้ให้ความสำคัญของสาระเป็นอันดับแรกแต่สาระจะมาทีหลังจาการทดลองปฏิบัติเสียก่อน ไม่เน้นเรื่องการฝึกวินัยจิต แต่จะเน้นความเจริญงอกงามของจิต หรือสมองจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตในปัจจุบัน หรือที่เป็นความสนใจของผู้เรียน
- กลุ่มสร้างสรรค์สังคมใหม่ การศึกษามิใช่เรื่องของปัจเจกบุคคลเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของส่วนรวมที่จะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาของโลกปัจจุบัน