สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ

สรุปและอภิปราย
จากการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสงขลาวิทยาคม  ปรากฏว่าโรงเรียนสงขลาวิทยาคมมีกระบวนการใช้หลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551  กล่าวคือ โรงเรียนสงขลาวิทยาคม   ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ปัญหานั้นได้  ซึ่งสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  นอกจากมีจุดหมายที่สอดคล้องกันแล้วทางโรงเรียนยังใช้คุณลักษณะพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนโดยยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ในการใช้โดยไม่มีการเพิ่มเติมใดๆ นอกจากนี้ทางโรงเรียนสงขลาวิทยาคม  ยังมีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีการเพิ่มรายวิชาเรียนที่นอกเหนือจากรายวิชาพื้นฐาน  8  วิชา  เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ให้กับนักเรียนในรายทักษะที่นักเรียนยังอ่อนอยู่ เช่น การสอนภาษาอังกฤษ การสอนคอมพิวเตอร์เพื่อธุรกิจ หรือการส่งเสริมทักษะทางด้านกีฬา ซึ่งจะเน้นความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ         
กระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสงขลาวิทยาคมมีลักษณะสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานดังนี้
การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้
เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายคุณครู-บุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชน
ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
            การจัดทำหลักสูตรแต่เดิมจะเป็นหน้าที่ของกรมวิชาการทั้งหมด แต่ก็จะมีการเชิญผู้บริหารสถานศึกษา ครูอาจารย์ไปร่วมนิดหน่อย เมื่อจัดทำหลักสูตรเสร็จแล้วก็จะประกาศใช้ แต่ในปัจจุบันการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนจะต้องทำเอง การที่โรงเรียนจะจัดทำหลักสูตรขึ้นมานั้นโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญในการสร้างหลักสูตรเพราะ หลักสูตรถือได้ว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของโรงเรียน ในการจัดทำหลักสูตรแต่ละครั้งต้องผ่านหลายๆ ขั้นตอน หลายๆ ฝ่ายร่วมมือกัน โดยมีการจัดทำตัวหลักสูตรของสถานศึกษา 1 เล่ม ตัวหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระวิชาอีก 8 เล่ม และตัวหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอีก 1 เล่ม จะเห็นได้ว่าโรงเรียนสงขลาวิทยาคมนั้นจะมีการจัดทำหลักสูตรจากแกนใหญ่ที่เป็นหลักก่อน แล้วจึงจัดทำหลักสูตรที่มีความสำคัญรองลงมาตามลำดับ ซึ่งในการจัดทำหลักสูตรตามกลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระนั้น จะมอบหมายให้กลุ่มสาระนั้นๆ ที่มีความรับผิดชอบไปจัดทำมา แล้วก็รวบรวมให้คณะกรรมการสถานศึกษาลงลายมือชื่อรับรองว่าการจัดทำหลักสูตรนั้นจะผ่านหรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็ต้องกลับมาปรับปรุงแก้ไขใหม่
            นอกจากนี้ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษานั้น ก็ต้องดูบริบทในหลายๆ ด้าน มาประกอบเข้าด้วยกัน อาทิ เช่น ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ผู้เรียนและผู้ปกครอง ซึ่งจะต้องให้สอดคล้องกันให้มากที่สุด และที่สำคัญหลักสูตรสถานศึกษาก็จะต้องมีความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ด้วย
            ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาต้อง พิจารณาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีองค์ประกอบสำคัญได้แก่
-วิสัยทัศน์
-สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
-คุณลักษณะอันพึงประสงค์
-โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา (เวลาเรียน รายวิชาพื้นฐาน/เพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน)
-คำอธิบายรายวิชา
-เกณฑ์การจบหลักสูตร
-เอกสารระเบียบการวักผลประเมินผล
4. คณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้เห็นความชอบ
-นำเสนอร่างเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา และระเบียบการวัด ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้เห็นนความชอบ
-นำข้อเสนอแนะพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความเหมาะสม ชัดเจนยิ่งขึ้น
-อนุมัติการใช้หลักสูตรจากคณะกรรมการสถานศึกษา
-จัดทำเป็นประกาศหรือคำสั่งเรื่องให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาและประธานกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม
จากการไปศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสงขลาวิทยาคม จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น
จากกระบวนการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวจะมีความสอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนสงขลาวิทยาคม      ซึ่งโรงเรียนสงขลาวิทยาคมมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนชุมชนว่ามีความต้องการพัฒนาในด้านใด  อย่างเช่นเอาอาชีพของคนในชุมชนมาสอดคล้องรายวิชาเพิ่มเติม  ปัญหาที่พบในตัวนักเรียนมีอะไรบ้าง   บริบทของชุมชน   ข้อมูลหลักสูตรเดิม โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้เองไม่ใช่ว่าถูกบังคับ เน้นความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อให้หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพ   เมื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ แล้ว ก็จะมีการร่างหลักสูตรโดยการกำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดเนื้อหาสาระ  กำหนดประสบการณ์การเรียนรู้  การกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล  โดยดูจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นเกณฑ์   เมื่อร่างหลักสูตรเสร็จแล้วจะมีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร  ว่ามีคุณภาพมากน้องเพียงใด  จากนั้นจึงนำหลักสูตรไปทดลองใช้  หลังจากนั้นโรงเรียนก็ได้มีการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสงขลาวิทยาคม จากผลการประเมินจากกลุ่มสาระวิชาต่างๆ จากกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทางโรงเรียนได้มีการจัดให้กับผู้เรียน
อย่างไรก็ตามหลักสูตรสถานศึกษาของแต่ละโรงเรียนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น บริบทของชุมชน ปัญหาที่พบของแต่ละโรงเรียน  ความต้องการของผู้เรียน ตลอดจนความต้องการของชุมชน แต่สิ่งที่คล้ายกันคือ หลักสูตรสถานศึกษาที่จัดทำขึ้นของแต่ละโรงเรียนส่วนใหญ่แล้วจะยึดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2551 เป็นเกณฑ์  เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้  และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง  และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในอนาคต
ข้อเสนอแนะ
การจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดไว้  โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งvอาทิ ชุมชน ครอบครัว  และบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  ในการวางแผน ดำเนินการ  ส่งเสริมสนับสนุน  ตรวจสอบ  ตลอกจนปรับปรุงแก้ไข  เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ให้ได้มากที่สุด