ปัจจัยที่มีผล

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาหลักสูตร

ปัจจัยที่มีผลและส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา          

               กลยุทธ์การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสถานศึกษาทุกแห่ง ประกาศที่สำคัญที่สุดคือ การรู้จักและเข้าใจบริบททางสังคมที่สถานศึกษาตั้งอยู่ อันประกอบด้วยบริบททางการศึกษาที่จะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการศึกษาของโลก บริบททางด้านธรรมชาติของผู้เรียนซึ่งเป็นคนในยุค generation Y ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจและจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับเด็กเหล่านี้รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องทั้งกลุ่ม baby boorm และ Generation X ด้วย
               นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว ตลอดจนปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นที่เราต้องสร้างระบบคุณค่าที่ถูกต้องให้กับพวกเขาด้วย ผ่านกระบวนการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษา อีกทั้งบริบททางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะมองข้ามไม่ได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งในทุกจังหวะของชีวิต
               อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดมาเป็นอันดับแรกก็คือเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมที่จะต้องเอาจริงเอาจัง ปลูกฝังให้กับเด็กตั้งแต่วันแรกที่มาโรงเรียนจนกระทั่งวันสุดท้ายที่จบการศึกษาออกไป ผ่านการเรียนรู้จากการเป็นตัวแบบที่ดีของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
               บริบทต่างๆ ที่กล่าวมาจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการกำหนดวิสัยทัศน์ของหลักสูตรสถานศึกษา และส่งผลต่อไปยังพันธกิจ จุดหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทั้งทุกกิจกรรมในหลักสูตรซึ่งจะได้ขยายความให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้นพอสังเขปดังนี้

ก)     ปัจจัยบริบททางสังคม
     ทิศทางการศึกษาในโลกยุคใหม่
การศึกษาในโลกยุคใหม่ไม่ว่าจะในหรือต่างประเทศ เมื่อวิเคราะห์เป็นภาพรวมจะพบว่ามีทิศทางที่ชัดเจนในประเด็นต่อไปนี้
1. มีการปรับหลักสูตร การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับโลกอุตสาหกรรมที่สมดุลระหว่างสังคมฐานวามรู้กับสังคมสมานฉันท์
2. ทุกส่วนเรียกร้องคุณภาพ ประสิทธิภาพ ความรับผิดชอบใช้เทคโนโลยีช่วยสอน เทคโนโลยีจะไม่สามารถแทนที่ครู แต่ครูที่ไม่มีเทคโนโลยีจะถูกแทนที่ด้วยครูที่มีเทคโนโลยี
3. การทำงานประสานเครือข่ายมากขึ้น
4. การทำงานมุ่งสานผลประโยชน์ที่ลงตัว
                
        แนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษายุคใหม่
               ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องใช้รูปแบบการจัดการศึกษาที่เชื่อมโยงกับความเข็มแข็งของชุมชนและสังคมที่สถานศึกษาตั้งอยู่สถานศึกษาไม่อาจลอยออกมาจากสังคมได้อีกต่อไป ดังนั้นแนวโน้มเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษายุคใหม่จึงมีลักษณะดังต่อไปนี้
               1) การพัฒนาสถานศึกษาให้สามารถบริหารจัดการอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข็มแข็งทางด้านวิชาการ ในการที่จะควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาและคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรอย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม
               2) สถานศึกษาเป็นรากฐานการสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยการจัดการเรียนการสอนในสิ่งที่เป็นปัญหา ความต้องการของชุมชน ส่งผ่านองค์ความรู้ ระบบคิด ระบบคุณค่า ตลอดจนค่านิยมจากเด็กไปยังผู้ปกครอง และนำภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนเข้ามาสู่การจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กสืบทอดและดำรงรักษาภูมิปัญญานั้นไว้ให้เข้มแข็งยั่งยืน
               3) การสร้างเครือข่ายมาช่วยสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรบริหารส่วนตำบล หน่วยงานของรัฐและเอกชนที่จะมาช่วยสถานศึกษา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องของงบประมาณแต่เพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่มีคุณค่าต่อการศึกษาอยู่ในชุมชน ซึ่งต้องใช้ระบบการดำเนินการแบบชนะชนะ (win win) ที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
              
ข)     ปัจจัยบริบททางด้านกลุ่มเป้าหมาย (ผู้เรียน)
     ลักษณะนิสัยของ Generation Y
               คนยุค Generation Y มีลักษณะนิสัยเฉพาะตัวซึ่งจะต้องวิเคราะห์เชื่อมโยงไปสู่การออกแบบหลักสูตรและการจักการสอน ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ในสถานศึกษา ดังนี้
1)     มีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน (Here and now)
2)     มีความกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ทำ (Accountability)
3)     ชอบตั้งคำถาม มีสไตล์ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
4)     มีความมุ่งมั่นที่จะเห็นความสำเร็จของตนเอง และคาดหวังให้คนอื่นเห็นความสำคัญของตน มีความคาดหวังในการทำงานสูง
5)     มีความรับผิดชอบในภารกิจของตนเองอย่างชัดเจน
6)     คิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จในทีม
7)     มีการวัดผลงานอย่างเป็นระบบ มีเกณฑ์การวัดที่ชัดเจน และมีการประเมินที่เป็นรูปธรรม
8)     ชอบความหลากหลาย และสิ่งที่ท้าทาย ชอบการทำงานกับคนที่มีความแตกต่าง เช่น การทำงานกับชาวต่างชาติ
9)     มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ชอบเรียนรู้โดยการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
10)  เป็นคนคิดนอกกรอบ ไม่ชอบทำอะไรเป็นลำดับขั้นตอน แต่เน้นผลสำเร็จของงาน
11)  มีลักษณะอ่อนไหวง่าย มีความคาดหวังสูง อยู่ร่วมกับบุคคลที่มีความเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกของตน เช่น การชมเชย การเสริมแรง
12)  มีอัตราการออกแบบงานสูงเนื่องจากต้องการใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ให้กับองค์กรหรือหน่วยงาน

เด็กหนีเรียนและเบื่อการเรียน
1)     เบื่อโรงเรียน
2)     เรียนหนัก
3)     เรียนเครียด
4)     สอนแต่ทฤษฎี
5)     ไม่ได้ทำในสิ่งที่น่าสนใจ
6)     อยากหาที่สบายใจ
7)     ครูยุ่งกับทรงผม
8)     ไม่ได้ทำการบ้านเข้าไปจะถูกตี
9)     โรงเรียนมีกิจกรรมเลยออกมาได้
10)  ป่วยเป็นไข้มีอุณภูมิสูงกลับบ้านก็ไม่มีใครอยู่

ความต้องการของผู้เรียน
1)     อยากให้ปรับการเรียนการสอน
2)     ให้เรียนเนื้อหาน้อยลง
3)     มีเวลาทำกิจกรรม
4)     มีเวลาได้คิด ได้ค้นคว้า
5)     ได้ทดลอง ได้ทบทวน
6)     ได้ทำในสิ่งที่อยากคิดอยากทำมากขึ้น

ค)     ปัจจัยบริบททางด้านเทคโนโลยี
     ปรัชญาการทำงานของ Google
1)     เอาใจใส่ลูกค้าอย่างเต็มที่
2)     ให้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดเต็มพลังความสามารถ
3)     ทำงานให้เร็วดีกว่าการทำงานช้า
4)     สิ่งใดที่ลูกค้าบอกเป็นเสียงเดียวกัน สามารถนำมาเป็นมูลค่าเพิ่ม
5)     การคิดสร้างสรรค์ ไม่ต้องมานั่งทำงานที่โต๊ะเสมอ
6)     สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มโดยที่เราไม่ทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรม
7)     ข้อมูลมีอยู่มากมาย มีทางออก ทุกปัญหาพยายามแก้ปัญหา มุมมองที่แตกต่าง
8)     ข้อมูลอยู่ที่ทั่วโลก ประเทศที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันได้ ไม่มีพรมแดน การทำงานทำด้วยสมองและการสร้างสรรค์
9)     เอาจริงเอาจังได้โดยเราไม่ต้องสร้างบรรยากาศที่ทำงานที่บีบบังคับ บรรยากาศที่สบายๆ เป็นตัวกระตุ้นดึงศักยภาพของตนเองออกมา
10)  สิ่งที่ดีที่สุดอาจไม่เพียงพอ มนุษย์สามารถทำสิ่งที่ดีขึ้นทำให้เกิดวัตกรรมการทำงานที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่

แม้ว่าเทคโนโลยีจะรวดเร็วอย่างไร แต่ความคิดและจิตใจของเราก็ยังเร็วกว่า ทำให้เราไม่มีความแน่วแน่และมุ่งมั่นในการทำงาน โดยมีสติควบคุม ดังนั้นเราจะต้องฝึกตัวเองให้มีจิตใจจดจ่อแน่วแน่และรู้ตัวตลอดเวลาว่าเรามีหน้าที่ทำอะไรก็ต้องทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวครอบครัวและการงาน

ง)     ปัจจัยบริบททางด้านคุณธรรมจริยธรรม
     ฐานความคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม
               ความดี ทำพร้อมๆ กัน ทำอย่างสม่ำเสมอจะพัฒนาเป็น ค่านิยม ทำอย่างเห็นคุณค่าและชื่นชมจะพัฒนาเป็น คุณธรรม ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจการประพฤติปฏิบัติในคุณธรรมเป็นจริยธรรม จริยธรรมเป็นเรื่องคุณค่าซึ่งประเมินได้จากการกระทำ
               จริยธรรมสากล
1)     เคารพคุณค่าความป็นมนุษย์
2)     ปฏิบัติติ่ผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ยุติธรรม
3)     คิด ทำ พูด แต่สิ่งที่จริง
4)     เคารพ มีเมตตากรุณาต่อกัน
คุณธรรมคุณภาพสากล
1)     การตรงต่อเวลา
2)     ความซื่อสัตย์
3)     ความรับผิดชอบ
4)     การมีวินัยในตนเอง
5)     การเสียสละและจิตสาธารณะ
สี่สิ่งที่จำเป็นต่อการเป็นมนุษย์
1)     สิ่งที่ต้องทำ คือ ความดี
2)     สิ่งที่ต้องทำ คือ คุณธรรม
3)     สิ่งที่ต้องทำ คือ ความกตัญญู
4)     สิ่งที่ต้องทำ คือ รากเหง้าของบรรพบุรุษ
การศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องที่ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างให้เห็นเท่านั้นว่าการจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาจะต้องสอดคล้องกับบริบทที่สถานศึกษาตั้งอยู่ ธรรมชาติของผู้เรียน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายกับการจัดการศึกษาทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคมและประเทศชาติ (วิชัย วงษ์ใหญ่,  2552:1-17)


บรรณานุกรม
วิชัย วงษ์ใหญ่.  2552.  จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา:กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา.
       พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.